PAL และ NTSC ตอนตัดต่อเราจะเลือกอะไรดี ?

PAL และ NTSC ตอนตัดต่อเราจะเลือกอะไรดี ?

ในหัวข้อนี้ผมก็จะอธิบายในมุมข้องคนที่ตัดต่องาน (editor) แต่จะให้เข้าใจในเชิงลึกออกไปอีกนิด แต่มันก็เป็นความคิดที่ผมคิดและสิ่งที่ผมอ่านแล้วเอามารวมกัน แต่ผมจะอธิบายแบบสั้นๆเอาแต่เนื้ออย่างเดียว NTSC (National Television System Committee) มีต้นกำเนิดมาก่อนระบบ PAL (Phase Alternating Line). และยังอีกระบบที่ผมไม่ได้พูดถึง SECAM (Sequential Color with Memory)

Worldwide Television Standards Principal Nomenclature
Abbreviation Television Standard Name Year Developed
NTSC National Television System Committee 1948
SECAM Sequential Color a Memoire 1957
PAL Phase Alternating Line 1961

NTSC PAL SECAM
Fields 59.94 Hz 50Hz 50Hz
Lines 525 625 625
Active lines 480i 576i 576i
Video Bandwidth 4.2 MHz 5.0 MHz 6.0 MHz
Colour Subcarrier 3.57954545 MHz 4.43361875 MHz 4.406250 MHz
Sound Carrier 4.5 MHz 5.5 MHz 6.5 MHz

จากในตาราง เราจะเห็นได้ชัดว่า PAL และ NTSC จะมีความแตกกัน จากที่ผมอ่านมาหลายที่ต่างได้บอกว่า ระบบ PAL ได้เกินขึ้นมาเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของ NTSC ในเรื่องของสี ที่มีความผิดพลาด แถมตัวความละเอียดก็เพิ่มขึ้น ของ NTSC 525 เส้น,PAL 625 เส้น PAL ซึ่งมีความละเอียดมากกว่า 20% แต่จำนวน fields ของ NTSC(59.94HZ หรือ60Hz ที่ทราบกันดี) นั้นมากกว่า PAL (50hz) fields คือจำนวนการเรียงภาพต่อวินาที ระบบทีวีในสมัยก่อนจะ Scan ภาพ ในแบบ Interlaced ตามภาพประกอบinterlaced

ก็คือการแสดงแบบเส้นเว้นเส้น NTSC มี่ 525 เส้น ใน Field แลก ก็จะแสดง 1,3,5,7,9 ไปจนถึง 525 Field ที่ 2 จะแสดง line ที่ 2 คือ 2,4,6,8,10 จนไปถึง 524 นำ Fields ทั้งสองมารวมกันก็จะเกิดเป็น 1 ภาพ เมื่อเรานำ Field ของแต่ ละระบบมาหารด้วย 2 จะเป็นดังนี้

50Hz ของ PAL   50 /2 = 25
59.94Hzของ NTSC  59.94/2=29.97

เลขสองตัวนี้คือจำนวน Frame Rate นั้นเอง ลองคิดตามนะครับเมื่อจำนวน Fields ที่น้อยลงการส่งสัญญาณ น่าจะถ่ายทอดสัญญาณได้ไกลขึ้น แต่ที่แน่ๆในด้านการบันทึกข้อมูลสำหรับม้วนเทปที่มีความยาวเท่ากัน จำนวนเวลาที่บันทึกได้ NTSC บันทึกได้น้อยกว่า PAL
ดูในตารางเปรียบเทียบได้ครับ

TAPE

LABEL

TAPE

LENGTH

Feet

PAL/SECAM

Record/Playback

Time in Minutes

NTSC

Record/Playback

Time in Minutes

E30 148 30 22
E60 290 60 44
E90 429 90 65
E120 570 120 86
E180 851 180 129
E240 1142 240 173
T20 145 28 20
T30 211 42 30
T45 310 63 45
T60 412 84 60
T90 610 126 90
T120 812 169 120
T160

1075

225 160

พอมาถึงยุคปัจจุบันซึงเป็นระบบ digital เมื่อเราบันทึก File ที่เป็น VDO ลงในแผ่น VCD ,DVD เราจะพบว่าระยะเวลาของ PAL จะได้ยาวกว่าในขนาดแผ่นที่เท่ากัน Bitrate เท่ากัน FrameSize เท่ากัน

ประเทศเป็นประเทศที่ใช้ระบบ PAL มาตั้งแต่มีโทรทัศน์สีเกิดขึ้นในประเทศไทย และ ช่อง 7 ก็เป็นเจ้าแรกที่นำเข้ามาใช้ ในก่อนหน้าที่จะมีโทรทัศน์สี ผมเกิดไม่ทัน แต่ผมอ่านจากข้อมูลต่างๆ รัฐมลตรีในยุคนั้นได้ส่งคนไปดูงานด้านโทรทัศน์จากประเทศอเมริกา เพราะอเมริกาเป็นต้นกำเนิดและต้นแบบที่ใช้ ระบบ NTSC

มีหลายคงจะถามว่าทำไมประเทศไทยจึงเลือกที่จะใช้ PAL ในปัจจุบัน ตัวผมคิดว่าน่าจะเป็นเพราะจุดเด่นต่างๆของระบบ PAL นั้นเอง ทั้งความระเอียด ทั้งเรื่องของสี เรื่องของสัญญาณ เรื่องการบันทึกข้อมูล แต่มีอยู่ 1จุดที่ผมสังเกตุและสอดคล้องกันคือ ระบบไฟฟ้าของแต่ละประเทศ ประเทศที่ใช้กระแสไฟฟ้า 110v 60Hz จะใช้เป็นระบบ NTSC  ส่วนบ้านเราจะใช้ ไฟฟ้า 220V 50Hz ดูภาพเปรียบเทียบนะครับ

PAL-NTSC-SECAM.svg
ภาพแสดงพื้นที่ ที่ใช้ระบบ PAL/NTSC/SECAM

Weltkarte_der_Netzspannungen_und_Netzfrequenzen.svg

color

ภาพด้านบน เป็นที่แสดงให้เห็นว่าประเทศทางแทบไหนใช้สัญญาณระบบใด จะสังเกตุดูจากสี เขียวเป็น NTSC พอมาดูภาพพื้นที่การใช้ไฟฟ้าก็แสดงให้เห็นว่า สีแดงเป็นพื้นที่ ที่ใช้ไฟฟ้า 110v 60Hz   เราลองสังเกตุตรง Hz จะเห็นได้ชัดเลยว่า ประเทศที่ใช้ไฟฟ้า 60 Hz จะใช้ระบบ NTSC ส่วน 50Hz จะใช้ ระบบ PAL

พอมาถึงในยุดปัจจุปัน เราจะแยก PAL และ NTSC ออกได้อย่างไร ?
ในยุคปัจจุบัน FameSize ก็มีขนาดเท่ากันหมด 1920X1080 เราปัจจุบันขนาดมันเท่ากันหมด ทุกคนอาจจะเคยเห็นคำว่า 1080i และ 1080p บางอันก็จะเป็นแบบนี้ 1080i60 ,1080i50 และ 1080p60 ,1080p50

ตอนนี้สิ่งที่เพิ่มเข้ามาก็คือ i และ p ตอนนี้เราจะเริ่มคุณๆ 60 และ 50 มันก็ 50Hz ของ PAL ส่วน 60Hz ของ NTSC นั้นเอง  และค่า p คืออะไร ในตอนต้นผมอธิบาย ค่า i ไปแล้ว

i ก็คือ Interlaced
p ก็คือ Progressive

caption_0021298160320762

p คือการ scan ภาพแบบ Progressive คือเรียกครอบทุกเส้นไม่มีเว้น เหมื่อนภาพ บน แสดงภาพออกมาให้เห็นครบถ้วนทุก fields ใน 1 วินาทีมี 60 fields จะแสดงภาพที่เห็นเต็มทั้งภาพ 60 ภาพ หรือ frames ซึ่งต่างจาก Interlaced ต้องนำสองภาพมารวมกันเราจึงจะเห็นภาพได้สมบูรณ์
การ scan ภาพมีมานานแล้วครับ ในยุคแรกนำมาให้ใน computer
ตอนนี้เราก็รู้แล้วว่า i และ p ต่างกันอย่างไร เมื่อเราดูภาพผ่าน TV ภาพนิ่งๆเราจะไม่เห็นความต่าง เราจะเห็นความแตกต่างทันที่เมื่อภาพเคลื่อนที่เร็ว ดู ตามภาพตัวอย่างครับ

wv-nf302_02

Figure1-pvi

prog_scan

สังเกตุจากภาพ ภาพที่เป็นระบ Progressive ยังคงความชัดอยู่ แต่ Interlace จะดูไม่ชัด ความเข้าใจในเรื่องนี้สามารถนำไปยุกต์ใช้ในการซื้อ กล้องวงจรปิด นะครับ

ตอนนี้เราก็มากันไกลแล้วเลยเรื่องตัดต่อไปไกลมาก ทานผู้อ่านน่าจะเข้าใจระบบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับภาพมากขึ้น ถ้าเราเข้าใจเราจะรู้ว่าตัดงาน และ Export งานออกเป็น File ชนิดอะไร  เราจะสร้างโปรเจคในการตัดต่อ ตามที่เราจะเอาไปใช้งาน ถ้าเราจะนำไปออกอากาศทางโทรทัศน์ในบ้านเราประเทศไทย ต้องตั้งตามระบบโทรทัศน์ PAL 720×576   ถ้าเราจะนำไปเขียนลง แผ่น DVD ก็ต้องตั้งค่า PAL 720×576 ไม่ว่าเราจะสร้างโปรเจคละเอียดแค่ไหนเมื่อนำมาแปลง ลงแผ่น DVD เพื่อเล่นกับเครื่องเล่นทั่วไปอย่างไงก็ต้องเหลื่อแค่ 720×576 อยู่ดีนอกจากเราจะเขียน HD ถ้าจะนำ file ไปลง Youtube , หรือใส่ USB ก็สามารถตั้งความระเอียดสูงสุดได้ตามที่เราต้องการได้ เมื่อเรารู้จัก Interlaced และ
Progressive ถ้าเราต้องการให้ภาพชัดก็ต้องเลือก Progressive โปรแกรมตัดต่อทุกตัวมีให้เลือก ดูตัวอย่างในภาพนะครับ จะมีให้เลือกทั้ง i และ p
project0021

ท้ายที่สุดก็มาเข้าเรื่องตัดต่อจนได้ ทั้งหมดไม่ได้อ้างอิงวิชาการอะไรนะครับ ทั้งหมดเป็นแค่ประสบการณ์ของผม ถ้าผิดไม่ตรงตามแบบวิชาการก็อย่ามาว่ากันนะครับ เรื่องนี้ก็จบเพียงเท่านี้

Comments are closed.